สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2

รางวัลพระพฤหัสบดี ประจำปี พ.ศ. 2564 ประเภทหน่วยงาน ของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
ชื่อรางวัล:
พระพฤหัสบดี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖4 ประเภทหน่วยงาน ของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
หน่วยงาน:
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
นวัตกรรมที่ทำให้ได้รับรางวัล:
รูปแบบการบริหารงานกองทุนสวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2
กระบวนการการสร้างนวัตกรรม:
การบริหารงานของกองทุนสวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 เพื่อเป็นรูปแบบในการพัฒนางานกองทุนฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยใช้เทคนิคกระบวนการ วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และทฤษฎีระบบ (System Theory) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้




การนำไปใช้:
เมื่อนวัตกรรม PHANAT Model ผ่านการพัฒนาแล้วได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้กับครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวัตกรรมรูปแบบบริหารงานกองทุน สวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยใช้ PHANAT Model
2. ดำเนินการตาม PHANAT Model ดังนี้ P – Parity การดำเนินการอย่างเท่าเทียม โดยการดำเนินการ ดังนี้
2.1 กำหนดคุณสมบัติของการเป็นสมาชิก
2.2 กำหนดระเบียบ/หลักเกณฑ์การออมเงินและการกู้เงินที่ให้สิทธิเท่าเทียมกัน
2.3 สมาชิกได้รับสวัสดิการอย่างเท่าเทียม โดยการจัดสวัสดิการแก่สมาชิก การมอบทุนการศึกษา และการตอบแทนสังคม
2.4 การสร้างความเข้าใจ โปร่งใส และเป็นธรรม H - Happy มีความสุข พึงพอใจ
การดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กองทุนฯ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 มีความพึงพอใจ และมีความสุขในการปฏิบัติงาน ส่วนผู้รับบริการไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ข้าราชการบำนาญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และชุมชน มีความพึงพอใจ และมีความสุขเมื่อมาใช้บริการ
A – Accommodation การอำนวยความสะดวก1. ใช้ระบบบริการแบบ One-Stop Service เพิ่มความรวดเร็วในติดต่อ
2. จัดระบบการให้บริการข้อมูลสารสนเทศของกองทุนฯ และให้บริการข้อมูลของสมาชิก
N – Network การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือโดยมีรูปแบบของการประสานงานกลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันโดยการติดต่อกันผ่านกองทุนฯ หรืออาจจะทำการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม
2. ส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่แก่สมาชิก
A – Assistance การให้ความช่วยเหลือ1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือโดยมีรูปแบบของการประสานงานกลุ่มของคนหรือองค์กรที่สมัครใจแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันโดยการติดต่อกันผ่านกองทุนฯ หรืออาจจะทำการติดต่อโดยตรงระหว่างกลุ่ม
2. การมอบทุนการศึกษา
3. กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนสวัสดิการแก่สมาชิกและสาธารณประโยชน์
4. เงินสนับสนุนหมู่บ้าน
5. การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ
T – Technology การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางระบบงานกองทุนฯ โดยการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ รวมไปถึงการให้บริการ ต่าง ๆ แก่สมาชิก
3. สรุปผลการดำเนินการตาม PHANAT Model
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น:
จากผลการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารกองทุนสวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยใช้ PHANAT MODEL พบว่า ข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ มีระดับความสำเร็จในการบริหารงานกองทุนสวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการดำเนินการอย่างเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ด้านการสร้างสร้างเครือข่ายความร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ด้านความพึงพอใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านการให้ความช่วยเหลือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ด้านการอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ตามลำดับ
ชุมชน เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินการของกองทุนฯ ในการบริหารจัดการเงินกองทุนฯ สำหรับชุมชนมีความเป็นระบบ ทำให้ชุมชนได้ประโยชน์และมีความพอใจในการดำเนินการของการบริหารงานกองทุนสวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 ซึ่งหมู่บ้านที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกองทุน ได้แก่ ชุมชนวัดชุมแสงศรีวนาราม และชุมชนบ้านตลาดทุ่งเหียง ผลการดำเนินการฯ พบว่า การจัดสรรผลประโยชน์เงินของเงินกองทุนฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยมีการจัดสรรทุนการศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดชุมแสงศรีวนาราม และโรงเรียนชุมชนบ้านตลาดทุ่งเหียง
นักเรียน ได้รับความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ หรือถึงแก่กรรม รวมถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และมีการมอบทุนการศึกษานักเรียนยากจน ส่งผลให้นักเรียนที่ประสบปัญหาต่าง ๆ ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงทันท่วงที มีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง และเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนช่วยเหลือนักเรียน ติดตาม และส่งเสริมคุณภาพนักเรียนอย่างต่อเนื่อง



คำคมที่ส่งต่อแรงบันดาลใจ
“สวัสดิการที่ดี สร้างวิถีคุณภาพครู มุ่งสู่คุณภาพเด็ก”
คะแนนของนิทรรศการ
คะแนนถูกใจทั้งหมด 65969 คะแนน
จากผู้เข้าร่วมให้คะแนน 13586 ท่าน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทรรศการนี้
นางสาวอัจฉรา จันทา
ดีมากค่ะ
2022-06-11 15:07:50
ธีราภรณ์ จันตาขัด
ขอบคุณที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนสวัสดิการข้าราชการครูและลูกจ้างประจำค่ะ
2022-06-07 15:10:55
นายชัชรินทร์ สุขปาน
ดีมากครับ
2022-06-02 10:24:37
พระธีรศักดิ์ ธีรธมฺโม/พุ่มพวง
ดีมาก
2022-06-01 20:35:51
นางสาวทิพวรรณ ผ่านเมือง
ยอดเยี่ยมมากค่ะ
2022-06-01 12:41:05
นางสาวประภาพร กลิ่นบัว
ยอดเยี่ยมมากค่ะ
2022-06-01 11:11:26
ธนัชพร โพธิ์เอม
ดี
2022-06-01 08:49:35
นายธนากร จันทพันธุ์
ยอดเยี่ยมมากครับ
2022-05-31 23:55:35
นางสาววิภาวี อิ่นแก้ว
ดี
2022-05-31 23:41:59
นายธรณินทร์ มีพลงาม
ยอดเยี่ยมมากครับ
2022-06-22 10:00:14